วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

"นำเสนอ"โครงงานวิทยาศาสตร์อย่างไรให้ถูกใจผู้ฟัง





นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างไรให้ถูกใจผู้ฟัง
การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการคิดหัวข้อโครงงานเพื่อแก้ปัญหา และการทำโครงงานให้ตอบโจทย์ที่ต้องการได้ เนื่องจากการนำเสนอโครงงานเป็นกระบวนการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ฟัง (โดยเฉพาะกรรมการ) เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงาน แนวคิดในการนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และผลที่ได้จากการทำโครงงาน ทั้งต่อการแก้ปัญหาและประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้ทำโครงงานเอง หลายครั้งจะพบว่า โครงงานที่ได้รับรางวัลหรือได้รับความสนใจจากกรรมการจะเป็นโครงงานที่เกิดขึ้นจากปัญหาหรือความสนใจของผู้ทำโครงงานเอง (ไม่ใช่มาจากอาจารย์ หรือโครงงานที่ทำต่อจากรุ่นพี่อีกที) เนื่องจากผู้นำเสนอจะมีความเข้าใจสภาพปัญหาและเนื้อหาสาระของกระบวนการที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ทั้งนี้ การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น หัวข้อที่นำเสนอควรจะต้องมีความครบถ้วนหรือเกือบครบ (ตามลักษณะของโครงงาน) รวมถึงมีรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน ดังนี้ เกริ่นนำ ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน และชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน กลุ่มหรือประเภทของโครงงาน (ตามกลุ่มที่ส่งเข้าร่วมงาน) ประเด็นปัญหา ปัญหาที่เกิดขึ้น เหตใดจึงเลือกปัญหานี้มาทำโครงงาน ผู้ทำโครงงานได้รับผลกระทบจากปัญหานี้อย่างไร กำหนดประเด็นของโครงงาน ผู้ทำโครงงานกำหนดประเด็นของปัญหาที่จะแก้ไขอย่างไร สมมติฐาน ผู้ทำโครงงานกำหนดสมมติฐานว่าอย่างไร เหตใดจึงคิดว่าสมมติฐานนั้นจะสามารถแก้ปัญหาได้ วัสดุและอุปกรณ์ วัสดุและอุปกรณ์หลักที่นำมาใช้ ขั้นตอนการทำโครงงาน ข้อมูล ผลจากการทดลองหรือทดสอบ (ข้อมูลดิบ) กราฟหรือตารางแสดงแสดงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปรความหมายข้อมูลจากผลการทดลอง การประเมินความสอดคล้องของข้อมูล (ว่าผลการทดลองแก้ปัญหาได้หรือไม่) แนวทางการปรับปรุงโครงงานให้ดีขึ้น (วิเคราะห์จากผลที่ได้จากการทดลอง) ความผิดพลาด ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการออกแบบการทดลอง และการบันทึกผล สิ่งที่ผู้ทำโครงงานเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น สรุปผลการทดลอง สรุปว่าโครงงานสามารถแก้ปัญหาในตอนต้นได้หรือไม่ คำถามที่ผู้ทำโครงงานยังคงสงสัยอยู่
                      การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการคิดหัวข้อโครงงานเพื่อแก้ปัญหา และการทำโครงงานให้ตอบโจทย์ที่ต้องการได้ เนื่องจากการนำเสนอโครงงานเป็นกระบวนการเล่าเรื่องเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ฟัง (โดยเฉพาะกรรมการ) เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงาน แนวคิดในการนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และผลที่ได้จากการทำโครงงาน ทั้งต่อการแก้ปัญหาและประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้ทำโครงงานเอง      

                          


สีหน้ายิ้มแย้มของผู้นำเสนอ บอกถึงความสุขและการมีส่วนร่วมในโครงงานได้เป็นอย่างดี

หลายครั้งจะพบว่า โครงงานที่ได้รับรางวัลหรือได้รับความสนใจจากกรรมการจะเป็นโครงงานที่เกิดขึ้นจากปัญหาหรือความสนใจของผู้ทำโครงงานเอง (ไม่ใช่มาจากอาจารย์ หรือโครงงานที่ทำต่อจากรุ่นพี่อีกที) เนื่องจากผู้นำเสนอจะมีความเข้าใจสภาพปัญหาและเนื้อหาสาระของกระบวนการที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา
              


การจัดทำบอร์นำเสนอโครงงานทางวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น หัวข้อที่นำเสนอควรจะต้องมีความครบถ้วนหรือเกือบครบ (ตามลักษณะของโครงงาน) รวมถึงมีรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน ดังนี้
  1. เกริ่นนำ
    • ชื่อโครงงาน
    • ชื่อผู้ทำโครงงาน และชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
    • กลุ่มหรือประเภทของโครงงาน (ตามกลุ่มที่ส่งเข้าร่วมงาน)
  2. ประเด็นปัญหา
    • ปัญหาที่เกิดขึ้น
    • เหตใดจึงเลือกปัญหานี้มาทำโครงงาน
    • ผู้ทำโครงงานได้รับผลกระทบจากปัญหานี้อย่างไร
  3. กำหนดประเด็นของโครงงาน
    • ผู้ทำโครงงานกำหนดประเด็นของปัญหาที่จะแก้ไขอย่างไร
  4. สมมติฐาน
    • ผู้ทำโครงงานกำหนดสมมติฐานว่าอย่างไร
    • เหตใดจึงคิดว่าสมมติฐานนั้นจะสามารถแก้ปัญหาได้
  5. วัสดุและอุปกรณ์
    • วัสดุและอุปกรณ์หลักที่นำมาใช้
    • ขั้นตอนการทำโครงงาน
  6. ข้อมูล
    • ผลจากการทดลองหรือทดสอบ (ข้อมูลดิบ)
    • กราฟหรือตารางแสดงแสดงข้อมูล
  7. การวิเคราะห์ข้อมูล
    • การแปรความหมายข้อมูลจากผลการทดลอง
    • การประเมินความสอดคล้องของข้อมูล (ว่าผลการทดลองแก้ปัญหาได้หรือไม่)
    • แนวทางการปรับปรุงโครงงานให้ดีขึ้น (วิเคราะห์จากผลที่ได้จากการทดลอง)
  8. ความผิดพลาด
    • ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการออกแบบการทดลอง และการบันทึกผล
    • สิ่งที่ผู้ทำโครงงานเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
  9. สรุปผลการทดลอง
    • สรุปว่าโครงงานสามารถแก้ปัญหาในตอนต้นได้หรือไม่
    • คำถามที่ผู้ทำโครงงานยังคงสงสัยอยู่
นอกจากนี้ น้ำเสียง อารมณ์ และความตื่นเต้นของผู้นำเสนอยังแสดงออกให้เห็นถึงความเข้าใจในโครงงานที่ทำได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาของกรรมการอีกด้วย

ข้อมูล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพงษ์ อุ่นใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น