โรงเรียนอนุบาลสุภาภรณ์
สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม นำสู่มาตรฐานสากล
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563
สอนลูก เด็กยุคใหม่ กับ Fake News
วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563
การรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าหรือ Self-Esteem สำคัญมากๆ
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563
อยากสร้างลูกให้เป็นคนที่ล้มแล้วลุกได้ ลุกได้เร็ว
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563
การศึกษาที่ดี คือ การสร้าง “คน” สิ่งที่ต้องการมากขณะนี้คือ
วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563
9 ทักษะพื้นฐาน EF (Executive Functions)
9 ทักษะพื้นฐาน EF (Executive Functions)
โลกในวันข้างหน้าเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบของความอยู่รอด เด็กที่จะมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จได้ต้องเป็นผู้ที่มี "EF" ดี คือ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น
มนุษย์เราไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF แต่เราเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ ผ่านการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยจำนวนไม่น้อย ชี้ให้เห็นว่า EF เริ่มพัฒนาขึ้นในเวลาไม่นานหลังปฏิสนธิ โดยช่วงวัย 3-6 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF ด้านต่างๆ ให้กับเด็ก เพราะเป็นช่วงที่สมองส่วนหน้าพัฒนามากที่สุด
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ EF = Executive Functions การทำงานของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับทักษะการคิดเพื่อให้ชีวิตสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญเพื่อความสำเร็จในชีวิตลูกกันค่ะ
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)
คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มีเวิร์กกิ้ง เมมโมรีดี ไอคิวก็จะดีด้วย
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus/Attention)
คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)
คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring)
คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing)
คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ