วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563
สอนลูก เด็กยุคใหม่ กับ Fake News
วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563
การรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าหรือ Self-Esteem สำคัญมากๆ
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563
อยากสร้างลูกให้เป็นคนที่ล้มแล้วลุกได้ ลุกได้เร็ว
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563
การศึกษาที่ดี คือ การสร้าง “คน” สิ่งที่ต้องการมากขณะนี้คือ
วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563
9 ทักษะพื้นฐาน EF (Executive Functions)
9 ทักษะพื้นฐาน EF (Executive Functions)
โลกในวันข้างหน้าเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบของความอยู่รอด เด็กที่จะมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จได้ต้องเป็นผู้ที่มี "EF" ดี คือ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น
มนุษย์เราไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF แต่เราเกิดมาพร้อมศักยภาพที่จะพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ ผ่านการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยจำนวนไม่น้อย ชี้ให้เห็นว่า EF เริ่มพัฒนาขึ้นในเวลาไม่นานหลังปฏิสนธิ โดยช่วงวัย 3-6 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF ด้านต่างๆ ให้กับเด็ก เพราะเป็นช่วงที่สมองส่วนหน้าพัฒนามากที่สุด
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ EF = Executive Functions การทำงานของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับทักษะการคิดเพื่อให้ชีวิตสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญเพื่อความสำเร็จในชีวิตลูกกันค่ะ
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)
คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มีเวิร์กกิ้ง เมมโมรีดี ไอคิวก็จะดีด้วย
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus/Attention)
คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)
คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring)
คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing)
คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ
เลี้ยงลูกเชิงบวกต้องมีวินัยเชิงบวกด้วย
วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563
"สร้าง" เด็กๆที่เข้มแข็งง่ายกว่า "ซ่อม"ผู้ใหญ่ที่ผุพัง (Frederick Douglass)
เลี้ยงลูกวัยรุ่น
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563
การคิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น และปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
สอนลูกและสอนตัวเอง ครับ🙂
เลี้ยงมาอย่างไร ก็ได้ไปอย่างนั้น...
งานที่"เลี้ยงชีวิต" กับงานที่"สร้างชีวิต"
วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563
ผู้ที่เป็นครู
จะเรียนอะไร ไม่ควรมองที่ปัจจุบัน แต่ให้มองที่อนาคตโดย ดร. วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
10 วิธีพัฒนาทักษะทางสังคมที่ทำให้คุณเข้าสังคมได้ง่ายขึ้น
#การเล่นคือวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพเพราะ....
การเรียนรู้แบบรอบรู้
การเรียนรู้แบบรอบรู้ (Mastery Learning) คือ กลยุทธ์และปรัชญาการศึกษาที่ถูกนำเสนอขึ้นอย่างเป็นทางการโดย เบนจามิน บลูม นักจิตวิทยาการศึกษาชาวสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1968 โดยพัฒนามาจากรูปแบบการเรียนรู้ของ จอห์น บี คาร์โรล (John B. Carroll) ซึ่งมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หากผู้เรียนได้รับเวลาที่จะเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ อย่างเพียงพอตามความต้องการของแต่ละบุคคล ก่อนที่บลูมจะเพิ่มเติมว่า ผู้เรียนที่แม้จะมีความสามารถทางสติปัญญาหรือความถนัดที่แตกต่างกัน ก็มีความสามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน หากผู้เรียนได้รับโอกาสในการเรียนรู้และคุณภาพการสอนที่เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละบุคคล
ซึ่งความหมายของการเรียนรู้แบบรอบรู้นั้น คือกระบวนการในการดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคน ซึ่งมีความสามารถและสติปัญญาที่แตกต่างกัน สามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้เช่นเดียวกัน ผ่านการวางแผนการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้เรียนแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการเหมือนกัน
ซึ่งองค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้แบบรอบรู้นั้น ประกอบด้วย
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและพิสูจน์ได้
2. มีการกำหนดเกณฑ์ความรอบรู้ที่ชัดเจน คือทราบว่าความรอบรู้ที่นักเรียนต้องไปถึงนั้น คืออะไรและอยู่จุดใด
3. มีกระบวนการที่แสดงให้ชัดเจนถึงการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างชัดเจน มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้เข้ากับนักเรียนได้ทุกคนอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมกัน
4. มีกระบวนการที่ชัดเจนสำหรับครูผู้สอนในการประเมินความรอบรู้ ซึ่งยืดหยุ่นได้ความความเหมาะสมของนักเรียนแต่ละคน
5. มีการจัดระเบียบและแสดงผลข้อมูลความก้าวหน้าในความรอบรู้ของนักเรียน และพร้อมในการนำเสนอกับผู้ปกครองและผู้บริหารได้ตลอดเวลา
ซึ่งลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบเชี่ยวชาญนั้น สามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้ดังนี้
- ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ในเนื้อหาที่สอนอย่างละเอียด ซึ่งต้องบ่งบอกถึงสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนทำได้และเกิดการเรียนรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง และต้องจัดเรียงจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยากและซับซ้อน
- ผู้สอนวางแผนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละคนโดยคำนึงถึงความถนัดและความแตกต่างกันของแต่ละบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องใช้สื่อการเรียนรู้ วิธีสอน หรือเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์
- ผู้สอนแจ้งให้ผู้เรียนเข้าใจในจุดมุ่งหมาย วิธีการเรียน ระเบียบกติกา รวมไปถึงข้อตกลงต่าง ๆ ในการเรียนให้ชัดเจน
- ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ตามแผนการเรียนที่ได้วางไว้ และมีการประเมินการเรียนตาม วัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยผู้สอนคอยดูแลและให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล
- ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ไปทีละขั้น หากผู้เรียนไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้สอนต้องมีการวินิจฉัยปัญหาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน และจัดโปรแกรมการสอนซ่อมเสริมอย่างเป็นระบบ ก่อนที่จะประเมินใหม่อีกครั้ง
- ผู้เรียนดำเนินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดจนบรรลุครบทุกวัตถุประสงค์ ซึ่งผู้เรียนอาจใช้เวลามากน้อยต่างกันตามความถนัดและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
- ผู้สอนมีการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน โดยเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในคราวต่อไป
จากองค์ประกอบและลักษณะสำคัญจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์และปรัชญาการศึกษานี้ เน้นให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับผู้เรียน เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถและสติปัญญาของผู้เรียน และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์หลักที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งเป็นการวางระบบที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคล
การเรียนรู้แบบรอบรู้ นับได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอนส่วนบุคคล Personalized System of Instruction (PSI) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์อย่างเหมาะสม โดยเป็นไปตามความต้องการและศักยภาพของตัวเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข โดยมีความกดดันที่น้อยกว่า แต่อาจจำเป็นต้องใช้เวลาที่มากขึ้นกว่าปกติ
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการส่งเสริมกลยุทธ์ทางการศึกษารูปแบบนี้ โดยมีการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบออนไลน์ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้รวดเร็วและทราบถึงข้อมูลสำคัญ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษารูปแบบนี้
เรียบเรียงโดย : นรรัชต์ ฝันเชียร
รู้สึกเวลาไม่เคยพอ หรือความจริงแล้วเราปล่อยให้เวลาผ่านไปแบบผิดๆ?
เรารู้ว่าพัฒนาการช่วง 0-7 ปีนั้นสำคัญ และเราก็พยายามทำความเข้าใจ
งานกลุ่ม สอนอะไรเด็กๆ บ้าง
💢การปฏิรูปการศึกษา ในยุค Digital Disruption💢
.
สงครามโลกครั้งที่ 3 เปิดฉากขึ้นแล้ว …
ทิ้งปืน ระเบิด หรือขีปนาวุธ ไว้ข้างหลัง
แต่โลกกำลังห้ำหั่นกันด้วยการค้าและเทคโนโลยี❗
.
🇺🇸🇨🇳สองยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและจีน
เปิดฉากต่อสู้กันอย่างดุเดือด ข่าวการจับตัวผู้บริหารระดับสูงของหัวเหว่ยที่แคนาดา กลายเป็นที่จับตาไปทั่วโลก ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ลงมาถึงระดับผู้บริโภคอย่างเราๆ
ต่อไปเนื้อหาที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีของหัวเหว่ยจะถูกบล็อก ไม่ให้สามารถเล่นในอุปกรณ์ของแอปเปิ้ล
มีการวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะอเมริกาพยายามเร่งสกัดกั้นจีนทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้ช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาด 5G เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลกไปอย่างสิ้นเชิง
.
🇨🇳แต่จีนก็ยังไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนา หัวเหว่ยเพิ่งจะออกมาประกาศความสำเร็จการทดสอบเทคโนโลยี 5G ใน 50 ประเทศทั่วโลก และยังนำไปสู่การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ ที่ประกาศว่าจะออกวางขายตามท้องตลาดในอีก 2 เดือนข้างหน้า
.
นักวิเคราะห์หลายสำนักคาดการณ์ตรงกันว่าเทคโนโลยี 5G จะขยายตัวอย่างจริงจังในปี 2565 นับถอยหลังอีก 3 ปี หากใครไม่อยากตกขบวน ก็ต้องเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันนี้
.
📌Digital Disruption คือสิ่งที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ การแทรกแซงของเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรต่างๆ
อย่าง ธนาคารพาณิชย์ที่ปิดตัวไปกว่า 40 สาขา ในครึ่งปีแรกของปี 2561 เพราะการเข้ามาของ Internet banking และยังมีแนวโน้มปิดตัวต่อเนื่อง ต่อไปธนาคารอาจอนุมัติเงินกู้ได้ภายในไม่ถึง 1 นาที โดยไม่ต้องใช้คนแม้แต่คนเดียว
.
📌สาขาวิชาที่ถูก Digital Disruption มากที่สุด คือ ธุรกิจอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายไร้สาย หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รองลงมาคือสาขาวิศวกรรม ความรู้มีอายุสั้น สิ่งที่เรียนไปแล้วกลับนำมาใช้ไม่ได้ เพราะมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวินาที
คำถามสำคัญที่ท้าทายครูในยุค 4.0 มากที่สุด เห็นจะเป็น … แล้วเราจะเรียนไปทำไม ?
.
The more I study the more I know.
The more I know the more I forget.
The more I forget the less I know.
So why I study ?
นี่คือคำถามที่สั่นสะเทือนวงการการศึกษาในยุค Digital Disruption …เมื่อทุกคำถาม ค้นหาคำตอบได้ใน Googles การป้อนความรู้แบบยัดเยียด และตำราในห้องเรียนจึงไร้ความหมาย
.
ผู้ประกอบการบริษัทยักษ์ใหญ่ ไม่สนใจใบปริญญา แต่ดูแค่ Performance Characteristic หรือคน ๆ นั้น ทำอะไรเป็น เก่งพอ และมีทักษะเหมาะสมกับวิชาชีพหรือไม่ เปรียบได้กับนักฟุตบอลอาชีพที่ถูกสโมสรชั้นนำซื้อตัวในราคาสูงลิบลิ่ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องเรียนหนังสือ แค่มีฝีเท้าที่หาตัวจับยากเท่านั้น
.
นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนออกจากระบบการศึกษากันมากขึ้น โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา เพราะหลายคนจบออกมาก็ไม่มีงานทำ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ สถานการณ์นี้ทำให้เราต้องตระหนัก ไม่นิ่งนอนใจ และเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง
.
รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา กล่าวถึงแนวทางหลักในการปฏิรูปการศึกษา ไว้ดังนี้
การออกแบบการศึกษา โดยให้ผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ทั้ง ๆ ที่เรามีการขับเคลื่อนเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่สำเร็จเท่าที่ควร เพราะหลุมดำ 3 ข้อ นั่นคือ
🔹2.ครูมีวิธีสอนแบบเดิม ๆ
🔹3.ครูสอนโดยเลือกจากความสนใจของตัวครูเอง
.
🔸การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร🔸
ต้องยอมรับว่าหลักสูตรที่เรามีอยู่ในขณะนี้ล้าสมัยไปแล้ว หลักสูตรแบบใหม่ ต้องปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา โดยครู ผู้บริหาร และสถานศึกษา ต้องสามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอคำสั่งจากส่วนกลางเท่านั้น เพราะไม่มีใครเข้าใจโรงเรียน ครู หรือเด็ก ไปมากกว่ากว่าคนในพื้นที่
ในยุคนี้เราไม่ต้องการ Superhero หรือผู้นำที่เก่งเพียงคนเดียว แต่เราต้องการ Collective Leadership หรือผู้นำที่พร้อมรับฟังความคิดเห็น ผู้บริหารต้องพร้อมทำงานร่วมกับครู ครูก็ต้องมีกระบวนการเรียนรู้ บูรณาการสอนร่วมกัน แบ่งปันกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างสอนเฉพาะรายวิชาของตัวเองเหมือนที่ผ่านมา ต้องเสริมการทำงานเป็นทีม เพื่อรวมเป็นพลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
.
💢กลุ่มบริษัทข้ามชาติ ดีลอยท์ โกลบอล ร่วมกับ Global Business Coalition for Education ศึกษาเรื่อง Digital Disruption
คาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในตลาดแรงงานอีก 11 ปีข้างหน้า พบว่าในปี 2573 มีโอกาสที่แรงงานหนุ่มสาวกว่า 1.8 ล้านคนทั่วโลก จะกลายเป็นคนตกยุค ล้าสมัยและเสี่ยงตกงาน เพราะถูกเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ และขาดทักษะหรือไม่มีคุณสมบัติที่ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน